รู้จัก พาร์กินสัน มัจจุราชร้ายของคนวันชรา

แม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปไกลมาก แต่โรคบางอย่างก็ถือว่าเป็นมัจจุราชร้ายที่ยังไม่สามารถเอาชนะได้เลย อย่างเช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น อีกโรคหนึ่งที่นับว่าเป็นมัจจุราชร้ายของคนหลังวัยเกษียณอย่างมาก นั่นคือ โรคพาร์กินสัน หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร เราเลยขอนำมาให้รู้จักมัจจุราชตนนี้กันว่ามีหน้าตาอย่างไร
โรคพาร์กินสันเกิดจากอะไร
สำหรับโรคพาร์กินสันนี้ หากนับตามเอกสารของนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ผู้ค้นพบโรคนี้ได้กล่าวไว้ว่า พาร์กินสัน เกิดจากการที่เซลล์สมองได้ตายลงอย่างไม่รู้สาเหตุ โดยเฉพาะเซลล์สมองที่สร้างโดพามีนขึ้นมา เมื่อสูญเสียตรงนี้ไปจะทำให้การควบคุมร่างกายมีปัญหาก็จะเกิดปัญหาตามมาด้วย
อาการของโรคพาร์กินสัน (ด้านร่างกาย)
อาการของโรคพาร์กินสันนั้น หากแสดงอาการออกมาแล้วนั่นเป็นสัญญาณร้ายเตือนเลยเนื่องจากแสดงว่า เซลล์สมองได้ตายไปพอสมควรแล้วจึงเกิดอาการขึ้น อาการดังกล่าวก็จะมี อาการสั่นจะเริ่มจากข้อมือ แขน และลามไปเรื่อยจนไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวัน หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สองเคลื่อนไหวร่างกายช้าลงเริ่มจากอวัยวะจะเคลื่อนไหวได้ช้าลงและน้อยลงจนเหมือหยุดนิ่งไป นั่นทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวไม่ได้เลยบางรายจะมีความรู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย สามร่างกายแข็งเกร็ง ร่างกายจะขยับไม่ได้เหมือนเกร็งตัวอยู่อย่างนั้น และสี่ร่างกายขาดความสมดุล เวลาเดินอาจจะเอียงซ้ายหรือขวา หรือ ด้านหน้าด้วย ทำให้ล้มได้ง่ายมาก
ผลกระทบต่อสภาพจิตใจ
ร่างกายว่าแย่แล้ว สภาพจิตใจยิ่งแย่กว่า โรคพาร์กินสัน จะทำให้สภาพจิตใจของผู้ป่วยมีปัญหาขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการวิตกกังวลต่ออาการของตัวเอง กลัว กระวนกระวาย เครียด (ยิ่งเครียด อาการยิ่งเห็นชัด) ต่อจากนั้นจะมีอาการทางจิตอ่อนๆ อย่าการมองเห็นภาพหลอน สุดท้ายจะพาผู้ป่วยไปสู่ภาวะซึมเศร้าเนื่องจากเหนื่อย เครียด กับสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่นั่นเอง ทำให้ลูกหลานต้องอดทน ให้กำลังใจ ปลอบโยนผู้ป่วยอยู่เสมอ
การรักษาโรคพาร์กินสัน
การรักษาโรคพาร์กินสันนั้น มีอยู่สองแนวทาง หนึ่งจะเป็นการกินยา ซึ่งจะเป็นการกินยาเพื่อควบคุมประสาทสั่งการให้กลับมาใช้งานได้ดี สองยาอาจจะใช้ยาระงับความเครียด ความวิตกกังวล วิตกจริตไว้ด้วย สามยาป้องกันการตายของเซลล์ประสาทที่เหลือ แนวทางที่สองจะเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษา หรือใส่เครื่องกระตุ้นสมองเข้าไป แต่แนวทางนี้ไม่นิยมมากเนื่องจากการผ่าตัดอาจจะมีอันตรายข้างเคียงต่อสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่เป็นวัยชราแล้วได้ ความน่ากลัวของโรคนี้คือ ยังไม่สามารถหาสาเหตุการเกิดโรคได้ และยังไม่มีวิธีรักษาที่ชัดเจน ดังนั้นเราควรห่วงและดูแลสุขภาพของตัวเองเสียแต่เนิ่นจะดีกว่า