วิธีการดูแลคนป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับ โรคประสาท ไมเกรน ลมชัก อัลไซเมอร์ พาร์กินสันและโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมองทั้งหมด

วิธีการดูแลคนป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์

August 10, 2018 ARTICLE 0

ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้น เป็นคนที่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนบุคคลปกติทั่วไป หากได้รับการดูแลรักษาได้ถูกต้อง และการจะทำแบบนั้นได้ ลูกหลาน และผู้ดูแลจำเป็นต้องได้รับความรู้ และวิธีการดูแลอย่างครบถ้วน วันนี้เรามาพร้อมทริปดี ๆ สำหรับการช่วยดูแลทั้งสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ให้มีสุขภาพดีตลอดเวลา

คนที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ มักจะรู้สึกไม่สบายใจ กังวล และมีอาการหดหู่ผสมกัน เมื่อเขาพบว่าการทำงานง่าย ๆ ที่ปกติเคยทำได้นั้น กลายเป็นเรื่องยากในปัจจุบัน การควบคุมอาการเหล่านี้ จะช่วยให้สุขภาพจิตใจอยู่ในสภาพที่ดี และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเช่นคนธรรมดาทั่วไป

1.วางตารางเวลาอย่างระมัดระวัง เช่นการจัดตารางการทำกิจกรรมภายในบ้าน ตั้งแต่อาบน้ำ กินข้าว และการหมอนัด โดยให้เวลาว่างในการทำกิจกรรมส่วนตัวของเขาอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้คิดว่าเป็นการทำซ้ำ ๆ ที่น่าเบื่อเหมือนการถูกบังคับ และสุดท้ายก็จะทำให้สุขภาพจิตใจย่ำแย่ลง

2.ให้เวลามากกว่าปกติ ให้คาดหวังไว้เลยว่าการทำกิจกรรมของผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์ จะใช้เวลานานกว่าคนปกติทั่วไป ไม่ควรรีบเร่งให้เขาทำกิจกรรมนั้นให้เสร็จโดยไว จำเป็นการเพิ่มความเครียดสะสม ที่จะส่งผลต่ออนาคต

3.เพิ่มการทำกิจกรรมภายในครอบครัว เป็นการช่วยให้สามารถทำอะไรเองได้มากขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากคนในครอบครัว อย่างเช่นการแต่งตัวเอง สมาชิกในบ้านอาจจะหยิบชุดให้ หรือเลือกชุดและวางไว้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถหยิบสวมใส่เองได้ง่าย

4.สร้างตัวเลือกกิจกรรม การมีตัวเลือกอย่างน้อย 2 ข้อ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องปวดหัว แต่ต้องให้เลือกทุกวัน อย่างเช่นวันนี้จะแต่งชุดไหนดีระหว่างชุดแรก และชุดที่สอง หรือจะไปเที่ยวที่ไหน ระหว่างเดินเล่นในสวน หรือ ออกไปดูหนัง

5.ลดสิ่งรบกวนรอบข้าง เปิดทีวี หรืออุปกรณ์ที่ส่งเสียงดังให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และลดการพูดคุยระหว่างการรับประทาน ให้ผู้ป่วยจดจ่ออยู่กับการทานอาหารเป็นสำคัญ รวมถึงการพูดคุยทั่วไปในบ้าน ไม่ควรคุยในที่เสียงดัง ทำให้สมาธิในการรับฟังนั้นน้อยลง

สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในแต่ละคนจะประสบปัญหาไม่เหมือนกัน เช่นในด้านความจำ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ด้อยกว่า ซึ่งแล้วแต่ความรุนแรงของแต่ละคน ทำให้รูปแบบการรักษาไม่สามารถที่จะกำหนักหลักได้อย่างถูกต้อง 100% ทำให้วิธีที่เคยใช้อาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป จึงต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล ด้วยเริ่มแรกจะต้องทำการสังเกตุอาการร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อปรึกษาหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด