รักษาโรคลมชักให้หายขาดไปเลยได้หรือไม่

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับ โรคประสาท ไมเกรน ลมชัก อัลไซเมอร์ พาร์กินสันและโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมองทั้งหมด

รักษาโรคลมชักให้หายขาดไปเลยได้หรือไม่

January 14, 2019 ARTICLE 0

โรคลมชัก เกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยสาเหตุของโรคนี้ ก็มีมากมายหลายประการ เช่น พันธุกรรม , ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในสมอง อันเนื่องมาจากถ้าสิ่งเหล่านี้ถูกกระตุ้นมากจนเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดอาการชักได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าสมองส่วนใดที่ถูกกระตุ้น เช่น สมองที่คอยควบคุมแขนขาถูกกระตุ้น ก็จะเกิดอาการเกร็งบริเวณนั้น เพราะฉะนั้นการแสดงออกของโรคลมชักก็มีความแตกต่างไปในแต่ล่ะคน

และโรคลมชักยังเกิดได้ตั้งแต่เด็กทารกที่อยู่ในท้อง เพราะเซลล์สมองยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ต่อมาเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ก็อาจมีผลกระทบต่อสมองได้นั่นเอง นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในเด็กที่มีปัญหาจากการเจ็บป่วย , ติดเชื้อ หรือได้รับวัคซีนบางอย่างที่ส่งผลต่อสมอง เช่น เด็กคนหนึ่งคลอดตามกำหนด มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ทุกประการ แต่พอถึงอายุ 1-3 ปี กลับชัก โดยไม่อาจระบุสาเหตุได้ โรคลมชักในเด็กส่งผลต่อการพัฒนาสมองในทุกๆ ด้าน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สมองก็จะได้รับผลกระทบมากขึ้นตามกาลเวลา

รู้ตัวเร็ว รักษาเร็ว หายได้เร็ว

การรักษาให้โรคลมชักหายขาด จำเป็นต้องผ่านการวินิจฉัยก่อนว่าโรคลมชักของบุคคลนั้นๆมาจากสาเหตุใด เพราะจะได้ลงมือรักษาได้อย่างถูกต้อง เริ่มแรกจะใช้ยากันชัก เพื่อเข้าไปปรับกระแสไฟฟ้าในสมองให้ปกติ ถ้าผู้ป่วยคนใดดื้อยาก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยแพทย์จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามารักษา เพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งในสมองได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ด้วยการตรวจคลื่นสมอง หรือ EEG ด้วยการติดสายไฟฟ้าบนศีรษะกระจายไปตามจุดต่างๆ เพื่อหาจุดที่ปล่อยไฟฟ้าผิดปกติ ตามด้วยการตรวจ X – RAY MRI Brain ด้วยการใช้เทคนิคโรคลมชักโดยเฉพาะ ทำให้เห็นภาพได้อย่างละเอียดชัดเจนกว่า MRI ธรรมดา นอกจากนี้ยังรวมถึงการตรวจด้วย กัมมันตรังสี ใช้รังสีฉีดเข้าไปช่วงที่ชัก เพื่อตรวจดูตำแหน่งในสมองว่าส่วนไหนผิดปกติ

อีกทั้งยังมีการตรวจด้วยเครื่อง QEEG ซึ่งสามารถบันทึกคลื่นสมองได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังสามารถวัดค่าเป็นตัวเลขหรือกราฟ ซึ่งคำนวณอย่างอัตโนมัติว่าคนไข้มีความผิดปกติอะไร โดยเป็นเทคโนโลยีซึ่งใช้ในการบันทึกคลื่นไฟฟ้าของคนไข้ในระดับวิกฤต…

ผู้ป่วยโรคลมชัก จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการใช้ยาทุกวัน หลังจากมีการชักครั้งที่ 2 แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง พยายามใช้ยาทันทีหลังมีอาการชักครั้งที่ 1 กรณีที่อาการชักของผู้ป่วยสามารถต้านทานยาได้ ผู้ป่วยอาจลองรักษาในทางเลือกอื่น ๆ เช่น กินอาหารเสริมสูตรพิเศษ , ปลูกถ่ายเครื่องมือกระตุ้นสมอง หรือ อาจถึงขั้นผ่าตัดสมอง เป็นต้น