หลอดเลือดสมองตีบเกิดจากอะไร ?

โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือในอีกชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันดี คือ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคนี้เกิดจากความเสื่อมของผนังหลอดเลือด ซึ่งมีไขมันเกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดด้านใน สามารถพบได้ทั้งหลอดเลือดในสมองและหลอดเลือดใหญ่บริเวณคอ ส่งผลให้รูของหลอดเลือดเกิดความตีบและแคบลง ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองไม่เพียง ส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ , ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง , โรคเบาหวาน , โรคไขมันในเลือดสูง รวมทั้งผู้ที่สูบบุหรี่จัด
และก็ยังสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจชนิดเสี่ยง ต่อการเกิดลิ่มเลือดในห้องหัวใจ ซึ่งเป็นเหตุให้ลิ่มเลือดหลุดออกจากหัวใจพร้อมไหลไปตามกระแสเลือด จนไปอุดตันหลอดเลือดที่สมอง เกิดการขัดขวางการไหลของเลือดที่จะเดินทางไปเลี้ยงสมอง
เมื่อเลือดไหลไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือเกิดการอุดตันจนเลือดไหลไปเลี้ยงสมองไม่ได้ ส่งผลให้เซลล์สมองในบริเวณนั้นขาดเลือด จนสูญเสียการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการผิดปกติ อย่าง อัมพฤกษ์ , อัมพาตนั่นเอง
หลอดเลือดสมองตีบเกิดจากอะไร ?
โรคหลอดเลือดสมองตีบ มีปัจจัยเสี่ยงซึ่งก่อให้เกิดโรคได้หลายทาง โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
- อายุ จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุด ยิ่งอายุมากขึ้นอัตราความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มขึ้นมาก เพราะหลอดเลือดเสื่อมสภาพ
- เชื้อชาติ คนผิวดำมีอัตราการเกิดโรคมากกว่าคนผิวขาว
- พันธุกรรม คนไหนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป
ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
- ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญรองจากอายุเลยทีเดียว
- โรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหัวใจที่ทำให้มีการหลุดของลิ่มเลือดจากหัวใจ ลอยไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation , โรคลิ้นหัวใจ , โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
- โรคเบาหวาน สามารถส่งผลทำให้หลอดเลือดแข็งตัวได้ทั่วทั้งร่างกาย
- ไขมันในเลือด ถ้ามีระดับไขมัน Cholesterol ในเลือดสูง มันก็เป็นความสัมพันธ์อันเกี่ยวกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ
- การสูบบุหรี่ อย่างเป็นประจำทำให้เกิดหลอดเลือดเปราะ ผู้สูบบุหรี่จัดมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนไม่สูบหลายเท่า นี่ยังไม่นับการเกิดโรคมะเร็งอีก
- การดื่มสุรา สำหรับผู้ดื่มปานกลางไปจนถึงดื่มจัด จะเกิดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม
- การออกกำลังกายน้อยหรือไม่ออกกำลังกายเลย พบว่ามีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ