อัลไซเมอร์ โรคที่อันตรายต่อผู้สูงอายุ

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับ โรคประสาท ไมเกรน ลมชัก อัลไซเมอร์ พาร์กินสันและโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมองทั้งหมด

อัลไซเมอร์ โรคที่อันตรายต่อผู้สูงอายุ

January 30, 2018 ARTICLE 0
old-Alzheimer

วัยชรา หรือ ผู้สูงอายุนั้น เรื่องของการเจ็บป่วยย่อมเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าร่างกายของเราเสื่อมไปตามกาลเวลา ไม่แปลกที่ไม่ว่าจะโรคอะไรก็ตามต่างก็เป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุได้เสมอ อีกหนึ่งโรคที่ต้องบอกว่าเป็นโรคที่อันตรายต่อผู้สูงอายุเลยนั่นคือ โรคอัลไซเมอร์ มันเป็นอย่างไร อันตรายอย่างไรมาดูกัน

โรคอัลไซเมอร์ มีลักษณะอย่างไร

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่มีการพูดถึงกันมาก เนื่องจากเป็นโรคที่มีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุจะยิ่งพบได้มากเลยส่วนใหญ่โรคนี้จะเริ่มเป็นในผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป โรคนี้ถูกค้นพบและนำเสนอโดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 อาการของโรคนี้คือ การหลงลืม ความจำเสื่อม ทีละเล็กละน้อย จากเรื่องราวเล็กๆจนกลายเป็น ลืมเรื่องราวทั้งหมดในชีวิต หรือแม้แต่ลืมเรื่องราว สิ่งที่ทำแม้ผ่านไปแล้วเพียงแค่ 1 ชั่วโมง

สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

มาดูกันที่สาเหตุของการเกิดโรคนี้กันบ้าง ส่วนหนึ่งผู้ค้นคว้ากล่าวว่า เกิดจากพันธุกรรมมีส่วนเหมือนกัน แสดงว่าหากโรคนี้มีคนในครอบครัวเป็นเราก็อาจจะมีสิทธิ์เป็นได้ด้วย สองเป็นเรื่องการประสบอุบัติเหตุทางสมอง สามโรคภัยไข้เจ็บอย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ไขมันในเรื่องสูง โรคเหล่านี้อาจจะสะสมและแสดงอาการให้เกิดอัลไซเมอร์ด้วย

อัลไซเมอร์อันตรายต่อผู้สูงอายุ

ความอันตรายของโรคนี้ต่อผู้สูงอายุนั้น หลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร อาการขี้หลงขี้ลืมหากเป็นแค่การลืมทั่วไปๆก็ไม่เป็นไร แต่การลืมแบบลืมไปเลยอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้แม้ว่าจะเป็นเรื่องใกล้ตัว อย่างเช่น หากผู้สูงอายุรีดผ้าอยู่แล้วเดินไปทำอย่างอื่น อาจจะลืมไปว่าตัวเองรีดผ้าอยู่ หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะเกิดไฟไหม้ได้ หรือ การกินยา หากผู้สูงอายุเป็นโรคอัลไซเมอร์แล้ว อาจจะลืมไปว่าตัวเองกินยาไปแล้ว อาจจะเกิดพฤติกรรมกินยาซ้ำแล้วซ้ำอีกผลที่ตามมาคือการรับประทานยามากเกินไป

ลูกหลานต้องดูแลใกล้ชิด

ด้วยความอันตรายขนาดนี้ ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ต้องมีลูกหลานดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากจะดูแลเรื่องอาหารการกิน และยาต่างๆแล้ว ต้องดูแลให้ใกล้ชิดตั้งแต่เรื่องการกิน อยู่ ชีวิตประจำกันเลยทีเดียว แน่นอนว่าลูกหลานต้องมีความอดทนเป็นอย่างมาก เพราะคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะไม่คิดว่าตัวเองลืม อาจจะต้องเถียงกันตลอด ต้องอดทน ไหนจะบางวันที่ท่านตื่นขึ้นมาอาจจะจำเราไม่ได้ด้วย ดังนั้นใครที่ได้มีโอกาสดูแลท่านจะต้องอดทน เข้มแข็ง เอาไว้ให้ดี