โรคความจำดี!! โรคแปลกๆที่คุณอาจอยากเป็น


เอ ไปลืมวางไว้ตรงไหน, โอ้ย ลืมอีกแล้ว, ฉันลืมอะไรไปหรือเปล่า เราเชื่อว่าประโยคเหล่านี้คงเกิดขึ้นกับใครหลายคนที่อาจจะลืมตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยอย่างเช่น กุญแจบ้าน กุญแจรถ แก้วกาแฟ ไปจนถึงเรื่องลืมเรื่องใหญ่โตอย่างเช่นความผิดพลาดในงานเอกสาร การเซ็นหนังสือผิดที่ การลืมว่าเซ็นเอกสารอะไรไปแล้วบ้าง เหล่านี้เป็นต้น ทุกครั้งที่เราเกิดความผิดพลาดจากการลืม หลายคงคิดกันว่าคงจะดี หากเราไม่ลืมมัน หรือไม่ลืมอะไรเลย เป็นที่มาของเรื่องเล่าในวันนี้นั่นก็คือ โรคความจำดี โรคแปลกที่หลายคนอาจจะอยากเป็น (หรือไม่อยากเป็น)
โรคความจำดี คือ…
สำหรับโรคนี้ชื่อว่า โรคความจำดี ภาษาอังกฤษก็คือ hyperthymesia โรคนี้มีคำอธิบายเอาไว้ว่า ผู้ป่วยจะมีอาการทางสมองที่จดจำได้ทุกอย่าง เหตุการณ์ทุกตอนตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน จำได้หมด แล้วการจำไม่ได้จำแต่ภาพคร่าวๆเท่านั้น แต่จดจำได้แม้แต่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ของเหตุการณ์นั้นก็จำได้เลย แถมสามารถบอกเล่าสิ่งที่ตัวเองจำได้แบบละเอียดอย่างเหลือเชื่อทีเดียว อาจจะนึกว่าเป็นเรื่องราวในนิยาย หรือ ภาพยนตร์ไซไฟ แต่นี่คือเรื่องจริง
ที่มาของโรคนี้
การพบโรคนี้ค้นพบโดยนักประสาทวิทยา แห่งมหาลัยแคลิฟอร์เนีย เค้าค้นพบโรคนี้จากการวิจัยคนหนึ่ง เธอเป็นสุภาพสตรีชื่อว่า จิลล์ ไพรซ์ การวิจัยครั้งนี้ด้วยแบบทดสอบ ผลปรากฏว่าเธอสามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีต ตั้งแต่เด็กแบบเด็กมากจนถึงปัจจุบันได้อย่างคล่องแคล่ว บอกได้ถึงรายละเอียดของเหตุการณ์นั้น ซึ่งเอาเข้าจริงมันเกิดกว่าที่คนทั่วไปจะจำได้หมด (เราอาจจะจำบางเหตุการณ์ตอนเด็กได้ แต่คงจำไม่ได้ทุกเหตุการณ์และทุกรายละเอียด แต่เธอคนนี้จำได้หมด) นั่นทำให้มันกลายเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อว่าเธอคนนี้จะสามารถจำได้มากถึงเพียงนี้ การวิจัยดังกล่าวนี้ยังบอกอีกว่าสาเหตุที่ทำให้เธอมีความจำดีเลิศนั้น น่าจะมาจากโครงสร้างบางส่วนของสมองเธอนั้นแตกต่างออกไปจากคนทั่วไป งานวิจัยดังกล่าวได้แบ่งประเภทความจำเอาไว้ดังนี้
หน่วยความจำระยะสั้น ระยะยาว
หน่วยแรกเป็นเรื่องของการเก็บข้อมูลในสมอง โดยสมองจะแยกเก็บข้อมูลสองส่วน หนึ่งเป็นหน่วยความทรงจำระยะสั้น เป็นเรื่องราวใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เรื่องราวที่พบเจออยู่ทุกวัน อย่างเช่น อาหารที่รับประทานในตอนเช้า การเดินทางไปทำงานจนถึงกลับบ้าน ใส่เสื้อสีอะไร แต่ถ้าหากเป็นหน่วยความทรงจำระยะยาวจะเป็นเรื่องที่มีผลต่อจิตใจด้วยทั้งดีและร้าย เพราะมันกระทบต่อจิตใจเลยทำให้เราจำได้ดี ยิ่งกระทบต่อจิตใจมากก็จะยิ่งทำได้ดีและนานขึ้น อย่างเช่น เหตุการณ์การขอแต่งงาน เหตุการณ์การเสียชีวิตของคนในครอบครัว เหตุการณ์งานเลี้ยงรวมญาติ เป็นต้น
หน่วยความจำด้านชีวประวัติ
หน่วยความจำส่วนนี้ เหมือนกับเป็นการบันทึกประวัติส่วนตัวของเราเอง โดยจะมีการบันทึกเรื่องราวตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน งานวิจัยบอกว่าหน่วยความจำนี้เราจะจำได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หรือ ตั้งแต่อายุ สิบขวบขึ้นไป ทั้งเหตุการณ์สำคัญ การพบปะเจอผู้คน ประสบการณ์ทั้งดีและแย่
หน่วยความจำที่ใช้ตัวช่วยจำ
เราเคยมีพฤติกรรมแบบนี้หรือไม่ บางเรื่องเราลืมไปแล้วด้วยซ้ำ แต่พอรื้อค้นข้าวของในบ้านไปเจอสิ่งใดสิ่งหนึ่งเค้า ความทรงจำเกี่ยวกับสิ่งนั้นมันก็ผุดขึ้นมา อย่างเช่น ของขวัญที่แฟนเก่าเคยให้ไว้ พอเห็นก็นึกถึงหน้าแฟนเก่าพร้อมกับประสบการณ์เรื่องราวที่เคยอยู่ด้วยกันแบบนี้เป็นต้น หน่วยความจำนี้เรียกว่าใช้ตัวช่วยจำ
หน่วยความจำแบบหลอดไฟ
หน่วยความจำแบบสุดท้าย จะคล้ายกับตัวช่วยจำ แต่ว่าจะเป็นเหตุการณ์เฉพาะอย่างที่ไม่ว่าจะดีหรือร้าย พอเกิดแล้วมันจำฝังใจจนทำให้เราออกอาการได้เลย อย่างเช่น หากเราเคยจมน้ำ เวลาเราต้องเดินทางทางน้ำ ด้วยเรือ หรืออะไรก็ตาม เราจะจดจำเหตุการณ์จมน้ำได้ทันที และเกิดอาการข้างเคียง เช่น หวาดกลัว มือเย็น ตัวสั่น แบบนี้เป็นต้น