โรคอัลไซเมอร์โรคร้ายที่น่ากลัว

โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้มากที่สุด อาการของโรคส่งผลต่อสมองส่วนควบคุมความคิด , ความทรงจำ และการใช้ภาษา อาการของโรคจะเริ่มจากการหลง ๆลืมๆแบบไม่รุนแรงจนอาการจะเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ จนถึงขั้นไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง
อาการของอัลไซเมอร์
อาการเริ่มแรก คือ จะมีอาการหลงลืม ซึ่งพัฒนาไปอย่างช้า ๆ โดยใช้เวลาหลายปี บางคนอาจเข้าใจผิดไปว่าเป็นแค่อาการหลงลืมเมื่ออายุมากขึ้น โดยอาการของผู้ป่วยในแต่ละรายก็มีการพัฒนาเร็วแตกต่างกัน ทำให้คาดเดาได้ยากว่าอาการจะแย่ลงเมื่อไหร่
อาการของโรคอัลไซเมอร์ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะเริ่มต้น โดยอาการเริ่มต้นของแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป โดยสัญญาณแรกที่พบ คืออาการหลงลืม เช่น ลืมบทเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น , วางของผิดที่ , นึกชื่อสถานที่ไม่ออก , ชอบทำอะไรซ้ำๆ เช่น ถามคำถามเดิมหลายครั้ง , การตัดสินใจอะไรสักเรื่องหนึ่งกลายเป็นเรื่องยาก , อารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง เช่น หงุดหงิด , วิตกกังวล , สับสน เป็นต้น
ระยะกลาง ระยะนี้ผู้ป่วยจะยิ่งมีปัญหาด้านความทรงจำเข้าไปใหญ่ ผู้ป่วยต้องได้รับความช่วยเหลือในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร , การอาบน้ำแต่งตัว , และการเข้าห้องน้ำ เป็นต้น โดยอาการที่แสดงเพิ่มขึ้นอาจมีดังนี้ เช่น พยายามนึกชื่อครอบครัวแต่นึกไม่ออก , เกิดภาวะสับสนในเรื่องของสถานที่ เวลา และบุคคล , การทำกิจวัตรประจำวันยากขึ้น , มีพฤติกรรมหมกมุ่น ทำอะไรซ้ำๆ , ไม่อาจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ , มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด , sมีปัญหาด้านการนอนหลับ เป็นต้น
ระยะปลาย อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นเป็นอย่างมาก จนสร้างความเสียใจ เหนื่อยใจ และความวิตกกังวลมาให้บุคคลใกล้ชิด ในระยะนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลตลอดเวลา อาการหลงผิดจะยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ ผู้ป่วยจะอาละวาด , เรียกร้องความสนใจ , ไม่ไว้ใจผู้คนรอบข้าง , กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ , ไม่สามารถสื่อสารได้อีกต่อไป
บางครั้งอาการของโรคอัลไซเมอร์ก็สามารถแย่ลงอย่างกะทันหัน โดยอาจมีผลกระทบมาจากการใช้ยา , การติดเชื้อ , เกิดโรคหลอดเลือดในสมอง หรือเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันซึ่งสามารถเกิดแทรกขึ้นมาได้ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่พบว่าอาการของแย่ลงอย่างรวดเร็วควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยด่วน
สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์ เกิดจากการฝ่อตัวของสมอง โดยมันอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง รวมทั้งการทำงานของสมองบริเวณนั้น ส่วนสาเหตุที่สมองฝ่อตัวลง ยังไม่ทราบแน่ชัด อีกทั้งยังพบว่าเส้นเลือดในสมองของผู้ป่วยโรคนี้จะค่อย ๆ ถูกทำลายลง อันส่งผลให้ประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทลดลง รวมทั้งถูกทำลายทีละน้อย ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็แพร่กระจายไปสู่สมองหลายส่วน โดยบริเวณได้รับผลกระทบเป็นส่วนแรก คือสมองด้านความทรงจำนั่นเอง