โรคลมเข้าสมอง ภัยร้ายใกล้ตัว
ARTICLE 0 Commentsภาวะลมรั่วเข้าสมอง (Pneumocephalus) เกิดจากอากาศหรือแก๊สรั่วเข้าไปภายในโพรงกะโหลก ซึ่งมันมักจะค้างอยู่ภายในของกะโหลกศีรษะ สาเหตุที่เกิดได้มีหลายอย่าง เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะและใบหน้า, เนื้องอกของฐานกะโหลกศีรษะ หลังผ่าตัดระบบประสาท (Neurosurgery) หรือโสตศอนาสิกวิทยา (Otolaryngology) และมักจะไม่ค่อยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มันเกิดขึ้นจากการที่ระบบวาล์วภายในสมองเปิดให้อากาศไหลเข้าไป แต่ป้องกันไม่ให้มันออกมา จนเกิดภาวะที่เรียกว่าลมเข้าสมอง เช่นเดียวกับกับอากาศโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax) การทำ CT Scan จะช่วยให้เราสามารถตรวจหาอากาศที่ถูกเก็บสะสมในสมองได้ โดยทั่วไปจะแสดงอากาศที่บีบอัดกลีบสมองส่วนหน้า ซึ่งจะมีสัญลักษณ์ของภูเขาไฟฟูจิ ชื่อนี้ได้มาจากความคล้ายคลึงของสมองที่เหมือนกับภูเขาไฟฟูจิในญี่ปุ่น เคสผู้ป่วยวัย 84 ปี แพทย์ได้เข้าให้การรักษากับผู้ป่วยที่บอกว่าการสูญเสียความสมดุลของร่างกาย และต้องตะใจกันยกห้องเมื่อพบช่องอากาศชขนาด 3½ นิ้วที่อยู่ในสมองของชายวัย 84 ปี เขาบอกกับหมอว่าเขาล้มหลายครั้งมากในแต่ละสัปดาห์ ขนซ้ายและขาไม่มีเรี่ยวแรง จากการวินิฉัยเพิ่มเติม ผู้ป่วยที่ไม่ได้มีความบกพร่องทางสายตา หรือการพูดใดๆ สิ่งที่น่ากังวลที่สุดก็คือเขาเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาจมีอากาศเส้นเลือดในสมองแตกได้ ดังนั้นแพทย์ทำการสแกนสมองเพื่อระบุสัญญาณของการมีเลือดออก หรือ ความเสียหายของสมองที่เกิดจากหลอดเลือดอุดตัน แต่พวกเขาก็ไม่พบอะไรที่ผิดปกติเลย หลังจากทำการสแกนเอกซ์เรย์เต็มรูปแบบอีกครั้ง ทำให้เห็นว่าในสมองของผู้ป่วยมีช่องอากาศขนาดใหญ่ที่มีขนาด 3½ นิ้ว แพทย์เชื่อว่ามันอาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด และพยายามกลับไปสอบถามผู้ป่วยอีกครั้ง โดยเขายืนยันอย่างชัดเจนว่าไม่เคยมีประวัติหรือเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาก่อนในชีวิต เมื่อเกิดอากาศรั่วเข้าไปในสมองซึ่งมันมักจะไปกองกันอยู่ตรงส่วนกลีบหน้าผาก ถือเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการสั่งงานการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อมีอากาศมาแทนที่เซลล์ระบบประสาท จึงทำให้คนเริ่มสูญเสียการควบคุมร่างกายและสั่งงาน